Non-HCP
การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกสำหรับผู้ป่วย โรคพังผืดในไขกระดูก คุณหรือคนที่คุณรัก เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพังผืดในไขกระดูก และได้รับการรักษาด้วยยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK (เจนัสไคเนส) ที่ได้รับอนุมัติแล้วหรือไม่ คุณอาจมีสิทธิ์เข้าร่วมการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกในฐานะผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก
เรียนรู้เพิ่มเติม การเข้าร่วม ไปที่ ติดต่อ หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก BOREAS (บอเรียส) สำหรับผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก โปรดกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่าง
แบ่งปัน โรคพังผืดในไขกระดูก โรคพังผืดในไขกระดูก คือโรคมะเร็งเม็ดเลือดที่พบได้ยากชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจขัดขวางการผลิตเซลล์เม็ดเลือดตามปกติในร่างกายมนุษย์ โรคพังผืดในไขกระดูกทำให้เกิดการก่อตัวของเนื้อเยื่อแผลเป็น หรือ "พังผืด" ในไขกระดูก ส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดที่แข็งแรงได้ตามปกติ การสูญเสียเซลล์เม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางและภาวะเกล็ดเลือดต่ำได้ ซึ่งอาจทำให้มีอาการอ่อนแรง เหนื่อยล้า และมีเลือดออกถึงขั้นเสียชีวิตได้
เมื่อไขกระดูกของผู้ป่วยผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีความแข็งแรงน้อยลงเรื่อย ๆ จึงอาจเกิดการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็งในเลือด ด้านนอกของไขกระดูกที่อยู่ในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ม้าม หรือตับ ทำให้อวัยวะดังกล่าวขยายใหญ่ขึ้น ภาวะม้ามโตมักพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่เป็นโรคพังผืดในไขกระดูก และยังอาจทำให้มีอาการปวด/ไม่สบายท้อง รู้สึกอิ่มเร็ว และไม่ค่อยอยากอาหาร
เซลล์มะเร็งจะผลิตสารที่เรียกว่า “ไซโตไคน์” ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบจากโรคมะเร็ง การปล่อยสารไซโตไคน์ที่ผิดปกติ มักมีผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ของโรค เช่น เหนื่อยล้า เหงื่อออกตอนกลางคืน คัน และมีไข้
ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคพังผืดในไขกระดูกจึงควรต้องได้รับการรักษา อย่างไรก็ตาม การบำบัดที่ได้รับอนุมัติแล้วจะทำได้แค่ลดขนาดของม้ามที่โตผิดปกติ และบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบอันเกิดจากโรคมะเร็งเท่านั้น น่าเสียดายที่การรักษาในปัจจุบัน ยังไม่ประสบผลสำเร็จในด้านการฟื้นฟูความสามารถในการผลิตเซลล์เม็ดเลือดตามปกติ หรือรักษาโรคมะเร็งที่ทำให้เกิดพังผืดในไขกระดูกให้หายได้
การเข้าร่วม ไปที่ ติดต่อ หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก BOREAS (บอเรียส) สำหรับผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก โปรดกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่าง
แบ่งปัน Navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) ยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) เป็นการบำบัดที่ยังอยู่ระหว่างการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งมุ่งจัดการกับโปรตีน MDM2 (เอ็มดีเอ็ม 2) เพื่อเสนอทางเลือกในการรักษาใหม่ที่เป็นไปได้ สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคพังผืดในไขกระดูก
MDM2 (เอ็มดีเอ็ม 2) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ควบคุมการทำงานในด้านลบของยีนต้านเนื้องอกที่เรียกว่า p53 (พี 53) หรือ "ผู้พิทักษ์จีโนม"
ด้วยบทบาทหน้าที่อันสำคัญของ p53 (พี 53) ในการควบคุมวงจรชีวิตตามธรรมชาติของเซลล์ภายในร่างกายมนุษย์ จึงต้องมีการรักษาความสมดุลที่ละเอียดอ่อนระหว่าง MDM2 (เอ็มดีเอ็ม 2) และ p53 (พี 53) แต่โชคร้ายที่เซลล์มะเร็งของโรคพังผืดในไขกระดูก จะทำให้ระดับ MDM2 (เอ็มดีเอ็ม 2) เพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ จนไปปิดกั้นการทำงานและความสามารถในการต่อสู้กับโรคมะเร็งของ p53 (พี 53)
ยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) ที่รักษาผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูกนั้น จะช่วยยับยั้งไม่ให้ MDM2 (เอ็มดีเอ็ม 2) เพิ่มขึ้นสูง และฟื้นฟูการทำงานของ p53 (พี 53) รวมทั้งความสามารถในการกำจัดเซลล์มะเร็งด้วย
การวิจัยเชิงทดลอง BOREAS (บอเรียส) BOREAS (บอเรียส) เป็นการศึกษาวิจัยในระยะที่ 3 โดยมีการลงทะเบียนทั่วโลกสำหรับผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก ที่มีการลุกลามของโรค ภายหลังการรักษาด้วยยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์เจนัสไคเนส (JAK)
ยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK เป็นยาหลักที่นำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก และเป็นทางเลือกเดียวที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในสหรัฐและยุโรปในขณะนี้ ยังไม่มีการรักษารองใด ๆ ที่ได้รับอนุมัติให้ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคพังผืดในไขกระดูกที่มีการกำเริบของโรคอีกครั้ง หรือมีการดื้อต่อยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK
BOREAS (บอเรียส) จะเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) กับการรักษาที่ดีที่สุดที่มีอยู่ ในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองที่ดีขึ้น หรือไม่ตอบสนองต่อยายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ เจนัสไคเนส (JAK)
ในการศึกษาวิจัยนี้จะมีผู้เข้าร่วมการวิจัยเข้าร่วมประมาณ 282 ราย โดยจะทำการสุ่ม ผู้เข้าร่วมการวิจัย 188 รายเพื่อรับการรักษาด้วยยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) และผู้เข้าร่วมการวิจัยอีก 94 รายจะถูกกำหนดให้รับการบำบัดที่ดีที่สุดที่มีอยู่ สำหรับผู้เข้าร่วมการวิจัยที่ถูกสุ่มเลือกให้รับการบำบัด แพทย์ที่รักษาจะเป็นผู้กำหนดวิธีบำบัดที่เหมาะสมกับผู้เข้าร่วมการวิจัยแต่ละราย
ผู้เข้าร่วมการวิจัยทุกรายจะได้รับการประเมินทางคลินิกที่ครอบคลุมก่อนเริ่มการรักษา จะมีการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อให้แน่ใจว่าโปรตีน p53 (พี 53) ยังทำงานได้ และไม่กลายพันธุ์ นอกจากนี้ จะมีการวัดขนาดม้ามของผู้เข้าร่วมการวิจัย โดยใช้การสแกนด้วย MRI (เอ็มอาร์ไอ) หรือ CT (ซีที) รวมทั้งผู้เข้าร่วมการวิจัยจะต้องกรอกแบบสอบถาม เพื่อวัดอาการข้างเคียงอื่น ๆ ด้วย จะมีการตรวจเลือด การถ่ายภาพ และการตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอาการทั้งก่อน และตลอดการศึกษาวิจัย ในช่วง 24 สัปดาห์แรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะยังคงใช้ยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) หรือการบำบัดที่ดีที่สุดที่มีอยู่ เว้นแต่จะไม่สามารถต่อการรักษาได้ หรือมีอาการที่ลุกลามของโรค
เมื่อรักษาครบ 24 สัปดาห์แล้ว จะทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของการรักษาด้วยยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) และการบำบัดที่ดีที่สุดที่มีอยู่ โดยจะใช้การประเมิน 2 แบบ: (1) ขนาดของม้ามที่ลดลงจากช่วงเริ่มการศึกษาวิจัยจนกระทั่งครบ 24 สัปดาห์ โดยการสแกนด้วย MRI (เอ็มอาร์ไอ) หรือ CT (ซีที) และ (2) ผู้เข้าร่วมการวิจัยรายงานอาการด้วยตัวเอง ตั้งแต่เริ่มศึกษาวิจัยจนกระทั่งครบ 24 สัปดาห์
ดังนั้น การวัดประสิทธิผลที่สำคัญสองแบบสำหรับการรักษาด้วยยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) เมื่อเปรียบเทียบกับการบำบัดที่ดีที่สุดที่มีอยู่ คือ การลดขนาดของม้าม และอาการที่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษาครบ 24 สัปดาห์
โปรดคลิกเพื่อขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น คำถามที่พบบ่อย การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกคืออะไร
การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก คือการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการในคน โดยมีเป้าหมายเพื่อระบุเกี่ยวกับยาชนิดใหม่ หรือการรักษารูปแบบใหม่ หรือขั้นตอนวิธี หรืออุปกรณ์ชนิดใหม่ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก คือเพื่อช่วยให้แพทย์ระบุถึงวิธีที่จะรักษาโรคได้ดีขึ้นและปลอดภัยมากขึ้น หรือหาวิธีช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับโรคมะเร็ง อาจใช้เพื่อทดสอบการรักษาใหม่ ๆ วิธีวินิจฉัย หรือป้องกันโรคมะเร็ง หรือหาวิธีที่ดีขึ้นเพื่อจัดการอาการต่าง ๆ ของโรคมะเร็ง ตลอดจนผลข้างเคียงในการรักษา
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก โปรดดูแหล่งข้อมูลจาก สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา สถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติ และ สมาพันธ์อุตสาหกรรมและสมาคมยาแห่งยุโรป
เพราะเหตุใดการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกจึงสำคัญ
การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้แพทย์สามารถระบุถึงยาใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีความปลอดภัยมากขึ้นกว่าการรักษาที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการระบุถึงการรักษาโรคมะเร็งผ่านการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกที่ประสบผลสำเร็จมากมาย การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกจะช่วยให้แพทย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งได้ดีขึ้น และเสนอทางเลือกที่มากขึ้นในการรักษามะเร็งในอนาคต
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก โปรดดูแหล่งข้อมูลจาก สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา สถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติ และ สมาพันธ์อุตสาหกรรมและสมาคมยาแห่งยุโรป
การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
การวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก จะดำเนินการเป็นลำดับของขั้นตอน หรือเป็นระยะ โดยแต่ละระยะจะออกแบบมาเพื่อตอบคำถามบางอย่างที่กำหนดเอาไว้
ระยะที่ 1: เป็นการศึกษาวิจัยครั้งแรกของยาตัวใหม่ที่มีการดำเนินการในคน โดยจุดประสงค์หลักของการวิจัยเชิงทดลองในระยะที่ 1 คือการหาขนาดยาที่ปลอดภัยสำหรับการรักษาแบบใหม่ และเพื่อตัดสินใจว่าจะให้การรักษาแบบใหม่อย่างไร (ทางปาก หรือโดยการฉีด เป็นต้น) โดยจะมีผู้เข้าร่วมการวิจัยประมาณ 15-30 ราย เข้าร่วมการวิจัยเชิงทดลองในระยะที่ 1 นี้
ระยะที่ 2: การวิจัยเชิงทดลองในระยะที่ 2 จะทำขึ้นเพื่อดูว่าการรักษาแบบใหม่นั้น ใช้ได้ผลกับโรคมะเร็งบางชนิดหรือไม่ โดยแพทย์อาจจะศึกษาว่ามะเร็งมีการหดตัว หรือหายไปหรือไม่ ใช้เวลานานแค่ไหนกว่ามะเร็งจะกลับมาอีก หรือการรักษาแบบใหม่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้หรือไม่ โดยจะมีผู้เข้าร่วมการวิจัยประมาณ 25 ถึง 100 คน เข้าร่วมในการวิจัยเชิงทดลองระยะที่ 2
ระยะที่ 3: ก่อนที่การรักษาใหม่จะได้รับการอนุมัติตามข้อบังคับอย่างเต็มรูปแบบได้นั้น จะต้องทำการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ เพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัย และประสิทธิภาพกับการรักษามาตรฐานในปัจจุบันก่อน โดยจะมีการสุ่มเลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยให้เข้ารับการรักษาแบบมาตรฐาน หรือการรักษาด้วยวิธีใหม่ การวิจัยเชิงทดลองในระยะที่ 3 จะมีผู้เข้าร่วมการวิจัยเข้าร่วมหลายร้อยคน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก โปรดดูแหล่งข้อมูลจาก สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา สถาบันโรคมะเร็งแห่งชาติ และ สมาพันธ์อุตสาหกรรมและสมาคมยาแห่งยุโรป
ใครเป็นผู้ดำเนินการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกครั้งนี้
การวิจัยเชิงทดลอง BOREAS (บอเรียส) ได้รับการสนับสนุนจาก Kartos Therapeutics (คาร์โตส เทอราพิวติกส์) ซึ่งเป็นบริษัทที่อุทิศตน เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการบำบัดรักษาแบบมีการกำหนดเป้าหมาย ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Kartos Therapeutics, (คาร์โตส เทอราพิวติกส์) โปรดไปที่ www.kartosthera.com.
มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเข้าร่วมการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกหรือไม่
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก รวมถึง ค่าใช้จ่ายในการไปพบแพทย์ ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าตรวจในห้องปฏิบัติการ ค่าเอกซเรย์ และค่าตรวจด้วยการถ่ายภาพอื่น ๆ บริษัทประกันสุขภาพของคุณ หรือผู้สนับสนุนการศึกษาครั้งนี้ (ซึ่งในกรณีนี้คือ Kartos Therapeutics) (คาร์โตส เทอราพิวติกส์) อาจรับผิดชอบค่าใช่จ่ายเหล่านี้
อาจมีการชดเชยค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ค่าเดินทาง หรือค่าที่พักให้ โปรดติดต่อศูนย์มะเร็งที่คุณเข้าร่วมเพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม
หากฉันได้รับผลที่ไม่พึงประสงค์ในขณะร่วมการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิกของยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) ล่ะ
หากคุณเชื่อว่าอาจมีอาการไม่พึงประสงค์ ในขณะเข้าร่วมการศึกษาวิจัยที่มีการรักษาด้วยยา navtemadlin (KRT-232) (แนฟทีมาดลิน (เคอาร์ที-232)) โปรดรายงานให้ทราบในทันที ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในระเบียบโครงการวิจัย
สถานที่วิจัย การวิจัยเชิงทดลอง BOREAS (บอเรียส) จะดำเนินการในศูนย์มะเร็งประมาณ 140 แห่ง ในอย่างน้อย 20 ประเทศ โปรดใช้แผนที่แบบโต้ตอบด้านล่าง เพื่อค้นหาศูนย์มะเร็งใกล้บ้านคุณ ที่ผู้ป่วยจะได้รับการลงทะเบียนเข้าร่วมการวิจัยเชิงทดลองนี้
คุณมีคุณสมบัติตามเกณฑ์หรือไม่ มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพังผืดในไขกระดูก เคยได้รับการรักษายายับยั้งการทำงานของเอนไซม์ JAK โรคพังผืดในไขกระดูก และได้รับการแจ้งว่าโรคได้ลุกลามขึ้น ต้องมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ก่อนที่จะเข้าร่วมในการวิจัยเชิงทดลองนี้ โปรดติดต่อศูนย์การวิจัยที่ใกล้บ้านคุณมากที่สุด ซึ่งจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่คุณเกี่ยวกับข้อกำหนดในการเข้าร่วมการวิจัยเชิงทดลองนี้
หากคุณต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลองทางคลินิก BOREAS (บอเรียส) สำหรับผู้ป่วยโรคพังผืดในไขกระดูก โปรดกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มด้านล่าง